วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ปาย






















เที่ยวสวนกระบองเพชร สวนพฤกษศาสตร์แม่ริม







เที่ยวสวนทวีชล


สวนทวีชล ตั้งอยู่บนถนนสายเชียงใหม่-ดอยสะเก็ด หลักกิโลเมตรที่ 10-11 มีเนื้อที่ 286-300 ไร่ เปิดบริการมาตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2548 โดยคุณทวีศักดิ์ – คุณชลางค์ เสสะเวช เดิมทีสวนฯ ทวีชลของเราเป็นสวนลำใย และผลไม้อื่นๆ เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาสำหรับการเลี้ยงวัวนม ที่นากลายเป็นทุ่งหญ้าที่เป็นหญ้าพันธุ์ตระกูลถั่วฮามาต้า ที่ใช้สำหรับเลี้ยงวัวนมโดยเฉพาะ มูลสัตว์นำมาทำไบโอแก๊ส และปุ๋ย ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นสวนฯ สวยงามเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อการ เรียนรู้ เพื่อการศึกษา โดยรวบรวมพันธุ์ไม้หายากมารวมไว้ที่นี่ เพื่อความเพลิดเพลิน เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ สวนฯ ทวีชลถูกจัดทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์ให้เป็นที่รวบรวมพันธุ์ไม้นานาชนิดเพื่อการศึกษา พันธุ์ไม้ภายในสวนฯ ถูกแบ่งกลุ่มพันธุ์ไม้ดังนี้
พันธุ์ปาล์ม พันธุ์ปรงพันธุ์ไม้ทนแล้ง เช่น กระบองเพ็ด ไม้อวบน้ำต่างๆ พันธุ์ไม้ดอก เช่น กุหลาบ กล้วยไม้ ชวนชม เฟื่องฟ้า โป๊ยเซียน หน้าวัว เฮลิโคเนีย ดาหลา ขิงแดงพันธุ์สับปะรดสีไม้ใบชนิดต่างๆเช่นอโกลนีม่า ฟิโลเดนดรอน โกสน เฟิร์นชนิดต่างๆ ไม้ดอกตามฤดูกาล จัดทำในรูปแปลง เพื่อนำไปประดับสถานที่ต่างๆ พันธุ์ไม้ทุกชนิด มีการขยายพันธุ์ไว้ทดแทนที่เสียหาย และจัดจำหน่าย ทั้งนี้ได้พยายามติดป้ายชื่อพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ ให้ผู้พบเห็นได้ศึกษา ส่วนใหญ่แล้วการเกษตรที่สวนฯ จะเน้นหนักการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ใบไม้ใบหญ้าที่ร่วง จะถูกเก็บเพื่อนำมาหมักทำปุ๋ย สำหรับกิ่งก้านใบปาล์มเรามีเครื่องมือเพื่อหั่นย่อยให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วนำมาหมักด้วยวิธีเติมอากาศทำให้ย่อยสลายเร็วขึ้น กิ่งก้านต้นไม้ที่ถูกตัดแต่งใบจะถูกนำมาเผาในรูปแบบของการได้ผลิตผลเพื่อนำมาเผาเป็นถ่านต่อไป เป็นการลดการเผาในที่โล่งแจ้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยทำเป็นเตาเผาถ่าน ทำน้ำส้มควันไม้ ในช่วงจังหวะเวลาที่อำนวยให้ โดยไม่ให้เกิดความเดือดร้อนต่อชุมชน ในแง่ของวิถีชีวิต และการช่วยเหลือชุมชน สวนฯ ทวีชล และ Horizon Village & Resort สร้างงานให้กับชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันกำแพง อำเภอสันทราย นอกจากนี้ยังจัดให้มีกิจกรรมหลักสูตรพัฒนาจิต เพื่อให้เกิดปัญญาและสันติสุข เป็นการนำปัญญาและสันติสุขมาสู่ตนเองและสังคมประเทศชาติ โดยจัดปีละ 4 ครั้ง สำหรับบุคคลทั่วไปและเยาวชน Zooท่านสามารถให้อาหารสัตว์ด้วยอาหารที่เราเตรียมไว้ ด้วยผักบุ้งปลอดสาร ค่าอาหารแล้วแต่ความเมตตา จะมีใครบังคับก็หาไม่ ท่าเรือเรามีเรือปั่น หรือ จักรยานน้ำให้เช่า เรือปั่น 1 ลำสำหรับ 2 คน ในราคา 60 บาทต่อ 1 ชั่วโมง เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี หรือสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ไม่ควรลงเรือโดยปราศจากผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่นั่งไปด้วย หากท่านใด ไม่ปฏิบัติตามกฎของเรา เจ้าหน้าที่สามารถยึดเรือคืนได้ ทางบริษัทจะไม่รับผิดชอบต่ออุบัติเหตุใดๆ ที่เกิดขึ้น

คลับเฮ้าส์
คลับเฮ้าส์ ประกอบไปด้วยห้องอาหาร ห้องฟิตเนส ห้องน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าและห้องอาบน้ำ สระ(เกลือ) ว่ายน้ำ 25 เมตร ห้องทานอาหารของพนักงานOur Club house consists of Food center, Fitness room, Changing & Shower room 25 meter.salt swimming pool, Staff canteen
ห้องอาหาร เปิดบริการ 11.30-16.00 น.Food Center, service time 11.30 – 16.00 hrs.
ห้องฟิตเนส เปิดบริการ 9.00 – 16.30 น. สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้นFitness room for adult onlyFee 100 baht

Service time 9.00 – 17.00 hrs.
สระว่ายน้ำ เปิดบริการ 9.00 – 17.00 น. Salt swimming pool Service time 9.00 – 17.00 hrs. Fee for adult 130 bahtchild (not taller than 135 centimeter) 70 baht

ขอบคุณข้อมูลจาก tweecholbotanicgarden.com

เที่ยวปาย


ปาย...อำเภอเล็ก ๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเยือนอย่างไม่ขาดสาย ความเงียบสงบ ลำน้ำปายสายน้อยที่ไหลเอื่อยผ่านกระต๊อบเล็ก ๆ อันเป็นที่พำนักของนักท่องเที่ยว ภูเขาที่ใหญ่น้อยที่โอบล้อมอำเภอปาย เป็นสเน่ห์ที่ประทับใจนักท่องเที่ยวอย่างไม่รู้เลือน ในฤดูฝน ริมลำน้ำปายจะดารดาษไปด้วยทุ่งนาข้าวเขียวขจี และเมื่อย่างเข้าฤดูหนาว ทุ่งนาข้าวก็จะแปรเปลี่ยนเป็นไร่กระเทียมที่ทอดตัวยาวไปจรดเชิงเขา ท่ามกลางสายหมอกเย็นระรื่น เมื่อราตรีมาเยี่ยมเยือน ถนนก็เริ่มครึกครื้น
ร้านขายโปสการ์ด hand-made เปิดไฟสีนวลให้ร้านยิ่งน่ารักชวนมอง ชาวดอยต่าง ๆ ก็ปูผ้ากันริมถนนขายสินค้าพื้นเมือง ทั้งย่ามทอมือ ผ้าปักหลากสี เสียงเพลง Ginger Tea แว่วดังขึ้น ชาวต่างชาติกลุ่มใหญ่ก็เข้ามารุมล้อมรถเข็นขายน้ำขิงในกระบอกไม้ไผ่ และรับฟังเพลงน่ารัก ๆ จากปากแม่ค้า ทุกอย่างนี้ล้วนแต่งแต้มสีสันเมืองปายในยามราตรีให้ดูสดใสทุกค่ำคืน แหล่งท่องเที่ยวอีกหลายแห่งในอ.ปาย ไม่ว่าจะเป็น วัดน้ำฮู, วัดพระธาตุแม่เย็น, น้ำตกหมอแปง,สะพานประวัติศาสตร์ ก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งสิ้น ซึ่งทำให้เมืองปายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในใจของผู้มาเยือนเสมอมา ปายเมื่อวันวาน ปาย ... ปี 2539 ทริปนั้นเราเข้ามาเมืองปาย อย่างคนไม่ตั้งใจ จากทริปพิเศษที่ผมพาเพื่อน ๆ ไปเที่ยว ทุ่งดอกบัวตอง แม่ฮ่องสอน และแผนของเราคืนนั้นคือ ไปนอนที่อุทยาน ฯ ห้วยน้ำดัง แต่เราก็โต๋เต๋กันเพลินจนเดินทางมาถึงปายซะดึก ก็เลยต้องมาค้างที่ ปาย อย่างช่วยไม่ได้ สำหรับคนไทยในตอนนั้น ปายเป็นเพียงแค่เมืองผ่านที่ไม่มีใครรู้จัก กระทั่งไกด์อย่างผมที่เดินทางมาแม่ฮ่องสอนปีละหลาย ๆ ครั้ง ยังรู้จักแค่ร้านอาหารชื่อ สิรินทร์ญา ซึ่งบริษัททัวร์เกือบทั้งหมดตอนนั้น ใช้ทานอาหารเที่ยงเมื่อต้องพาลูกค้ามายังแม่ฮ่องสอน แล้วก็มีร้าน "น้องเบียร์" ที่ "พี่ทม" หัวหน้ากลุ่มรถตู้ระดับบิ๊กในตอนนั้น แนะนำให้รู้จักว่า เป็นร้าน "ข้าวซอย" ที่อร่อยเริ่ดประเสริฐศรีที่สุดในอำเภอปาย ทีเหลือก็เป็นข้อมูลที่ผมจำได้คร่าว ๆ จากหนังสือ อสท. ว่า ที่ "เมืองปาย" แห่งนี้ มีบริการล่องแพยางจากปาย ไปถึงที่ไหนก็ไม่รู้ แล้วก็มีทัวร์เดินป่าเที่ยวชม 5 หมู่บ้านชาวเขา
ชาวฝรั่งเศสเป็นคนบุกเบิก บลา ๆ ๆ ..... ความรู้สึกของผม ก็ไม่ต่างจากนักท่องเที่ยวอื่น ๆ ในวันนั้นว่า "ปาย" มันก็แค่ทางผ่าน .... แต่สำหรับ"ฝรั่งซำเหมา" แล้ว ปายเปรียบเหมือนดั่งแดนสวรรค์ ที่มีครบทุกสิ่ง ธรรมชาติอันพิสุทธิ์ อากาศเย็นสบายที่แสนจะสดชื่น และบรรยากาศสบาย ๆ แบบ ปาย ปาย .... เพียงก้าวแรกที่ผมย่างลงไปในอำเภอเล็ก ๆ ที่ชื่อว่า "ปาย" นั้น ผมจึงรู้สึกเหมือนกับว่า เรากำลังหลงอยู่ในประเทศอะไรสักอย่างที่ไม่ใช่ ประเทศไทย ร้านเหล้าและบาร์เล็ก ๆ เต็มไปด้วยฝรั่งซำเหมา หัวดำที่เห็นมีเพียง พนักงานเสิร์ฟกับเจ้าของร้าน เช่นเดียวกันกับ เกสต์เฮ้าส์เล็ก ๆ ราคาไม่เกิน 200 บาท ที่กระจายรายรอบเมืองเล็ก ๆ ที่ชื่อว่าปายแห่งนี้ ร้านอาหารข้างทาง ไม่ว่าจะเป็นร้านก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ หรือแม้กระทั่งร้านอาหารตามสั่ง มีแต่เมนูภาษาอังกฤษเท่านั้น .... ที่ตอกย้ำความรู้สึกคือ ก่อนกลับเข้าที่พัก ผมพาเพื่อน ๆ ไปกินโรตีหน้าตลาดเช้ากัน มันก็เป็นรถเช็นเล็ก ๆ ขายโรตี 30 ไส้ อย่างที่เคยเห็นกันเป็นประจำ เพื่อนผมเดินไปซื้อก่อนจะกลับมาบอกให้ผมช่วยสั่งให้หน่อย ผมก็งง ๆ ก่อนจะถึงบางอ้อ เมื่อได้คุยกับอาบังกับก๊ะห์ และรู้ว่าท้งสองคนพูดภาษาไทยไม่ได้ "English Only" ผมจึงสรุปได้ว่า คนที่จะมาเที่ยวปายต้องพูดภาษาอังกฤษได้ ในระดับ Meduim ถึง Well-done เท่านั้น กลับจากทริปนั้น "ปาย" เป็นเมืองที่คาใจผมมาก ๆ กับความรู้เดิม ๆ ว่า สถานที่ไหนเป็นที่รู้จักในกลุ่มฝรั่งแบ็คแพค อนาคตจะถูกพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ทำให้ผมเริ่มสงสัยว่า อนาคต เมืองปายแห่งนี้ จะเป็นอย่างไร ... และยิ่งมั่นใจว่าอีกไม่นาน เมืองปาย จะไม่ใช่แค่ทางผ่านอีกต่อไปแน่นอน

เที่ยวเชียงราย


ไร่แม่ฟ้าหลวง

"อุทยานแห่งความสงบ งามอย่างล้านนา" ไร่แม่ฟ้าหลวงตั้งอยู่บริเวณพื้นราบทางตะวันตกของตัวเมืองเชียงราย ครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่ฝึกอบรมเยาวชนชาวเขาจากหมู่บ้านต่างๆ ในภาคเหนือ ปัจจุบันเป็นอุทยานศิลปะและวัฒนธรรมอันรื่นรมณ์ด้วยหมู่ไม้นานาพันธุ์ เหมาะสำหรับผู้แสวงหาความสงบเงียบและแรงบันดาลใจอันเกิดจากธรรมชาติ และสิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น บริเณ 150 ไร่ของไร่แม่ฟ้าหลวงเป็นที่จัดแสดงงานศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ละคร ทั้งยังเหมาะสำหรับจัดงานเลี้ยงรับรองรูปแบบต่างๆ การประชุมสัมนาหรือการประกอบพิธีกรรมพื้นเมืองเหนือในท่ามกลางบรรยากศอันสงบและศักดิ์สิทธิ์ความเป็นมาของคำว่า
"ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง"ความเป็นมาของคำว่า”ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง” “ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง” เป็นภาษาเนหือโบราณแปลว่า การน้อมคารวะ“แม่ฟ้าหลวง”เป้นคำที่ชาวไทยในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ใช้แทนพระนามของสมเด็ขพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีผู้สันนิษฐานว่าชาวไทยภูเขาได้คำนี้มาจากชาวไทยใหญ่ในตอนใต้ของประเทศจีนที่เรียกเจ้านายของตนเองว่า “เจ้าฟ้า” บางท่านสันนิษฐานว่า พระนามนี้ได้มาจากกาเสด็จเยี่ยมเยือนราษฎรชาวไทยภุเขา ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เฮลิปคอบเตอร์เป็นพระราชพาหนะ เปรียบเสมือนมารดาจากฟากฟ้ามาดูแลบุตร แต่ไม่ว่าคำคำนี้จะมีที่มาจากเหตุใด ก็เป็นพระสัญญานามที่ถวายแด่พระองค์ ท่านด้วยความรัก บูชา และซาบซึ้งในพระเมตตาที่ทรงมีต่อราษฎรในพื้นที่ทรุกันดารเหล่านั้น ประดุจความรักและเมตตาอันยิ่งใหญ่ที่มารดาพึงมีต่อบุตรงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวงจัดขึ้นครั้งแรก ตรงกับวันที่ 9 ธันวาคม 2527 ณ ไร่แม่ฟ้าหลวง เนื่องจากในวโรกาสเจริญพระชนมา ยุครบ 7 รอบครั้งที่ 2 จัดเมื่อ
วันที่ 11-12 มกราคม 2529 ณ ไร่แม่ฟ้าหลวง การแสดงเรื่อง “ขุนหลวงวิรังคะ และเอื้องแซะ” ซึ่งเป็นเรื่องราวความเกี่ยวกับพันระหว่างชาวเขาเผ่าลั่วะซึ่งเป็นชาวเขา ที่มีผู้สัมผัสน้อยที่สุดกับคนพื้นราบครั้งที่ 3
จัดเมื่อวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2530 การแสดงเรื่อง “ศิขรินทร์รัญจวน” ณ ไร่แม่ฟ้า หลวงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเมตตาของสมเด็จย่าที่มีต่อตำรวจตระเวนชายแดน และ ครูชนบทที่ไกลคมนาคมครั้งที่ 4 จัดเมื่อ
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2533 การแสดงชุด “ คำหยาดฟ้า” ณ ไร่แม่ฟ้าหลวง เพื่อ เฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาส
ที่สมเด็จฯทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษาในปี 2533ครั้งที่ 5 จัดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 พิธีไหว้
สาแม่ฟ้าหลวง ณ พระตำหนักดอยตุง ในครั้งนี้ เป็นการนำโบราณราชประเพณีของล้านนาที่มีการจดจำบันทึกไว้มาใช้ โดยอาศัยความ จงรักภักดีและความสามัคคีของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าโครงการศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงและธานาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ได้ริเริ่มโครงการศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านขึ้นมาเพื่อเป็นการปลูกฝังค่านิยมของคนในสังคมปัจจุบัน จะร่วมในการผลักดันให้มรดกทางวัฒนธรรมเหล่านั้นดำรงอยู่สืบไป ธนาคารและมูลนิธิฯ ได้จัดงานศิลปะดนตรีวัฒนธรรมพื้นบ้าน มีจุดหมายที่จะยกย่องและเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้าน ไม่ว่าเป็นเรื่องการสันทนาการ อาหาร ภาษาวรรณคดี ความเชื่อถือ ยารักษาโรค ฯลฯ ที่เกิดขึ้นแลสืบเนื่องต่อกันมาหลายชั่วอายุคน งานนี้จะโยกย้ายไปจัดในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นเสมือนเครื่องมือเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างหนึ่ง โดยต้องการให้เห็นความงดงามในความหลากหลายของวัฒนธรรมในประเทศของเรา อันเป็นทางหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและสามัคคีเป็นอันเดียวกันของคนภายในประเทศ ที่สำคัญคือต้องการให้เห็นถึงเอกลักษณ์อันโดดเด่นของคนไทยในภาคต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องลอกเลียนวัฒนธรรมและความคิดของชาติอื่นเสมอไปครั้งแรก จัดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2531 ณ ไร่แม่ฟ้าหลวง “คอนเสิร์ตสุนทรีย์ ดอกไม้บานหวานเพลงเหนือ”โดยศิลปินพื้นบ้าน 7 จังหวัดของภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ นาน และพิษณุโลก จะได้ร่วมกันแสดงดนตรีอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นในจังหวัดของตน นำรายได้ขึ้นทูลเกล้าถวายสมเด็ดพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการจัดหาศิลปวัตถุและโบราณวัตถุของภาคเหนือ เพื่อรวบรวมจัดแสดงที่ “หอคำหลวง”ครั้งที่ 2 จัดเมื่อวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2532 ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ศิลปดนตรีวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน เรื่อง”อาสาบารถ” นำรายได้มอบมูลนิธิ ฯ เพื่อสมทบทุนสร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคอีสานและสนันสนุนโครงการอีสานเขียวครั้งที่ 3 จัดเมือวันที่ 23-26 กุมภาพันธ์ 2534 ณ เกาะยอ จังหวัดสงขลา งานศิลปะวัฒนธรรมและดนตรีพื้นบ้านเรื่อง”ทะเลทิพย์” แสดงที่ศูนย์ทักษิณคดีศึกษาเกาะยอ เป็นการแสดงเกี่ยวตำนานโนราของปักษ์ใต้ ในการแสดงครั้งนี้จะแสดงให้เป็นโนราอย่างโบราณ และอย่างที่ปรับปรุงมีวัฒนาการแล้วครั้งที่ 4 จัดเมือวันที่ 5-8 มกราคม 2535 ณ ศรีสัชชนาลัย จังหวัดสุโขทัย งานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านแม่ฟ้าหลวง
หอคำเป็นสถานปัตยกรรมล้านนาซึ่งมีหลังคามุงด้วยแผ่นไม้สัก ชาวเชียงรายร่วมกันสร้างเพื่อ "ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง" ถวายเนื่องในวโรกาที่สมเด็จพระศรีนครินทรืบรมราชชนนีเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2527 อันเป็นฝีมือช่างไม้พื้นบ้านในจังหวัดเชียงรายและแพร่ ภายในหอคำเป็นที่เก็บรวบรวมศิลปวัตถุและงานพุทธศิลป์ มีทั้งพระพุทธรูปแบบล้านนา และเครื่องไม้แกะสลักที่ใช้ในพระพุทธศาสนา เช่น สัตภัณฑ์ (เชิงเทียนไม้เก่าแก่) ตุงกระด้าง (ตุงหรือธงไม้) ขันดอก (ภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ) บรรยากาศภายในหอคำศักดิ์และขรึมขลัง ให้ความรู้สึกที่อธิบายได้ยาก แสงเทียนที่วับแวมอยู่ในความสลัวชวนให้เกิดความปีติจับใจ พระพุทธรูปองค์สำคัญในหอคำ คือ พระพร้าโต้ ซึ่งมีจารึกว่าสร้างในปี พ.ศ. 2236 โดยชาวบ้านซึ่งพึ่งย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่และยังไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสมในการสลักเสลาพระพุทธรูปไม้ให้ประณีตจึงใช้เพียงมีดโต้เป็นเครื่องมือแกะสลัก พระพุทธรูปมีลักษณะแข็งแรง และสง่างามรายละเอียดเพิ่มเติมหอคำแม่ฟ้าหลวง“หอคำแม่ฟ้าหลวง” เป็นเครื่องไหว้สาแม่ฟ้าหลวงในวโรกาสที่พระองค์ท่านทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา และได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 “หอคำหลวง” เป็นผลงานแห่งความรักความศรัทราของบุคคลหลายหน่วยหลายฝ่าย ซึ่พงยายามสร้างที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อันเป็นการเจริญตามรอยพระยุคลบาทของพระองค์ท่าน สถาปนิกของหอคำ มีอยู่ คือคุณ ทรงศักดิ์ ทวีเจริญ , คุณครองศักดิ์ จุฬามรกต, คุณเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรีและคุณธีรพล นิยม , คุณมนัส รัตนสัจธรรม และคุณจรูย กมลรัตน์ เป็นวิศวกร นายช่างชลประทานเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างโดยใช้ช่างไม้พื่นบ้านจากจัหงวัดเชียงรายและแพร่ เสาไม้ใหญ่และลำไม้สักที่เกิดจากการซอยป่า ได้รับการเอื้อเฟื้อจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ นอกเหนือจากจากไม้ของบ้านเก่า จำนวน 32 หลัง ซึ่งทางมูลนิธิฯ เป็นผู้จัดซื้อ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมช่วยในด้านงานศิลปะตกแต่ง ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านป่างิ้วเป็นเป็นผู้ช่วยดูแลรักษาสาธารณสมบัติอันมีค่าของจังหวัดเชียงรายชิ้นนี้ศิลปวัตถุชิ้นแรกที่นำมาแสดงในโอกาสอันเป้นมงคลยิ่งนี้คือ การแสดงเครื่องสัตภัณฑ์ และพระพุทธรุปไม้สักล้านนาไทยในระวห่างปี พ.ศ. 2529-2530 มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ในภาคเหนือของประเทศไทย มีการปรับปรุงเรื่องการไฟฟ้าและคมนาคม ชาวบ้านมีฐานะดีขึ้นโดยเฉพาะในหมู่บ้านที่มีการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ วัดวาอารามเก่าแก่หลายอห่งถูกรื้อลง เพื่อสร้างขึ้นมาใหม่ตามแบบฉบับสมัยนิยม สัตภัณฑ์หรือแท่นเชิงเทียนถูกย้ายถ่ายเทไปตามที่ต่างๆ มุลนิธิแม่ฟ้าหลวงเห็นควรจะถนอมรักษาศิลปวัตถุที่งดงามนี้ไว้ จึงได้จัดซื้อเครื่องสัตภัณฑ์เหล่านี้มารวบรวมดูแลรักษาไว้ และในขณะเดียวกันก็มีผู้บริจาคสมทบเป็นจำนวนมาก สัตภัณฑ์เป็นสิ่งหนึ่งที่มีประโยชน์ใช้สอย ช่วยให้เกิดความสว่าง ความสงบ ความสวยงาม และความหวังมาหลายชั่วอายุคนในล้านนา หวังว่าการแสดงสัตภัณฑ์ จะช่วยให้ท่านผู้ชมได้เกิดความรู้สึกที่ดีงามดังกล่าวข้างต้นด้วยพระพุทธรุปไม้สักทองสำตคัญในหอคำหลวง วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดแพร่ได้มอบให้เป็นสิริมลคลพระพุทธรุปนี้มีพระนานมว่า “พระพร้าใต้” ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2236 กล่าวกันว่าสร้างในสมัยที่บุกเบิกก่อสร้างบ้านเมือง ชาวบ้านซึ่งอพยพเข้าไปตั้งรากฐาน ณ บริเวณใกล้วัดนี้ยังขาดเครื่องมือใช้อันจะประดิดประดอยพระพุทธรุปให้ละเอียดประณีต จึงจำเป็นต้องสร้างพระพุทธรูปนี้โดยใช้มีดขนาดใหญ่หนา พุทธลักษณะจึงปรากฏในลักษณะที่เข้มแข็ง บึกบึน และสง่างาม หวังว่าพระพุทธรุปลักษณะนี้จะเป็นแรงบันดาลใจที่ดีของไร่แม่ฟ้าหลวง ที่พึ่งเริ่มบุกเบิกงาน และมีภาระที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรอีกไม่น้อย คำว่า “หอคำ” ในภาษาพื้นเมืองของเรานั้นหมายถึงที่อยู่ของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน คำว่า “ คำ” นอกจากจะแปลว่า “ทองคำ”แล้วยังหมายถึงสิ่งที่ดีสิ่งที่งามอีกด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีหรือแม่ฟ้าหลวงของพวกเราทั้งหลายนั้นทรงเป็นตัวอย่างในเรื่องการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณชน พระราชกรณียกิจต่างๆหลากหลายและทรงคุณประโยชน์ที่สุดที่จะบรรยาย มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงซึ่งอยู่ในพระราชูปถัมภ์ใคร่จะเจริญตามรอยพระบาทองค์ท่าน แทนที่จะสร้างหอคำถวายไว้เป็นของพระองค์ท่านแต่เพียงผู้เดียว แต่กลับได้แบ่งปันให้เป็นประโยชน์ใช้สอยสำหรับมวลชนโดยทั่วไปหอคำมีโครงสร้างและวัสดุที่ใช้อย่างล้านนาไทย กล่าวคือ แบบหลังค่ได้ความบันดาลในจากวัดในจังหวัดลำปาง ตัวอาหารสอบเข้าเหมือนลักษณะเรือนล้านนาอย่างโบราณ ลวดประดับได้จากจังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งเป็นจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง วัสดุใช้ไม้จากภาคเหนือทั้งหลังโดยที่มูลนิธิฯซื้อไม้จากไม้เก่าในเขตจังหวัดเชียงราย และพะเยาจำนวน 32 หลัง ไม้เสาใหญ่ได้รับความเอื้อเฟื้อจากองค์การ อ.อ.ป.หลังคาเป็นหลังคาเก่าของบ้านในชนบท เป็นไม้แผ่นสักกว้างประมาณ 4นิ้ว ซ้อนๆกันซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “แป้นเกล้ด” นายช่างผู้ก่อสร้างเป้นนานช่างจากจังหวัดเชียงรายและจังหวัดแพร่ ช่างแกะสลักได้จากจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน วิศกรโครงสร้างเป็นนายช่างจากกรมชลประทานมีไม้แกะสลักรุปสามเหลี่ยมใหญ่อยู่ 5 ชิ้น ในหอคำนี้ซึ่งน่าในใจ ไม้ทั้ง 5 ชิ้นนี้เป็นรูปสัตว์ 5 ชนิด ซึ่งมาจากสัญลักษณ์ปีคล้ายปีประสูติของสมเด็จพระมิคลาธิเบศร อดุลยเดจวิกรม(สมเด็จพระบรมราชนก)และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี,พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมาหาอนันทมหิดล,พระบามสมเด็จพระปรมิรทรหมภูมิพลดอุลยเดช(รัชกาลปัจจุบัน)และสมเด็จพรี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลป์ยานวัฒนาเราได้ประดับไม้แกะสลักทั้ง 5 ชิ้นฝีมือช่างพื้นบ้านนี้ไว้ในที่สูงสุด นอกเหนือไปจาก “หอคำหลวง”แล้ว ทางมูลนิธิยังใช้เวลาและทุนทรัพย์ในการปรับปรุงบริเวณรอบๆหอคำให้สะอาดและรื่นรมย์ให้มีต้นไม้เป็นที่อาศัยของนกกาและมีความสงบเหมาะสมสำหรับเป็นที่เดินเล่นพักผ่อน เชื่อว่าเมืองเชียงรายซึ่งได้รับความเมตตาปราณีจากชาวบ้านเชียงรายโดยตลอดมา จึงเป็นทีน่ายินดีว่ามีโอกาสสร้าง “หอคำหลวง” ขึ้นเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งของแผ่นดินเชียงรายหอคำน้อยการเดินเล่นในอุทยานแห่งนี้เป็นประสบการณ์พิเศษ ภายในอุทยานมีไม้ป่านานาพันธุ์ มีพระรูปปั้นของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอันเป็นผลงานของคุณมีเซียม ยิบอินซอย มีอาคารศิลาแลงหลังคาแป้นเกล็ดไม้สัก ซึ่งเรียกว่า "หอคำน้อย" เป็นที่เก็บภาพจิตกรรมฝาผนัง เขียนด้วยสีฝุ่นบนกระดานไม้สัก สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในช่วงต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยช่างเขียนชาวไทลื้อ ภาพแสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ การแต่งกาย และวัศนธรรมล้านนาเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว
รายละเอียดเพิ่มเติม“หอคำน้อย” ซึ่งเป้นที่เก็บจิตรกรรมภาพวาดบนแผ่นไม้สักจากเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และวันเฉลิมฉลอง “หอคำน้อย” ตรงกับวันที่ 8 ธันวาคม 2535มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเห็นว่าศสิลปะเหล่านี้เป็ยของแผ่นดิน มมิได้เป็นของผู้ใดผู้หนึ่ง ดดยเฉาะมูลนิฯ มีความภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสเป็นผู้ดูแลรักษาเพื่อสาธารณชนหอแก้วจากหอคำน้อย เมื่อเดินผ่านป่าสมุนไพรไปทางทิศใต้ จะพบอาคารหลังใหญ่ คือ “หอแก้ว” ซึ่งมีพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งใช้เป็นที่ทำกิจกรรม เช่น การประชุมสัมมนา จัดเลี้ยง ฯลฯ มีระเบียงยื่นลงไปในสระว่ายน้ำกว้างใหญ่ เหมาะแก่การสังสรรค์อันรื่นรมณ์ และปลอดโปร่งใจ อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการเกี่ยวกับไม้สัก ทั้งในด้านพฤกษศาสตร์ และในด้านเป็นวัสดุอันเลื่องชื่อสำหรับสร้างสรรค์งานศิลปะรายละเอียดเพิ่มเติมหอแก้วอาคารสถาปัตนกรรมล้านนาประยุกต์ขนาดใหญ่ สร้างเสร็จเมื่ออปี พ.ศ. 2544 ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งใช้เป็นที่ทำกิจกรรม เช่น การประชุมสัมมนา จัดเลี้ยงฯลฯ มีระเบียงยื่นลงไปสระน้ำกว้างใหญ่เหมาะแก่การสังสรรค์ค์อันเรื่นรมย์แลละปลอดโปร่งใจ อีกส่วนหนึ่งเป้ฯพื้นที่จัดนิทรรศการ ซึ่งขณะนี้ได้จัดนิทรรศกาถาวรเรื่อง “ไม้สัก” และนิทรรศการเรื่องหมุ่นเวียน “หอคำในอาณาจักรล้านนา”“นิทรรศการภาพถ่ายหอคำ” ประกอบด้วยภาพหอคำและวิถีชีวิตในคุ้มหลวงของล้านนาโบราณซึ่งตามขบนธรรมเนียมในอดีต ถือได้ว่าหอคำเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองที่สำคัญ เป็นไปตามความเชื่อหลักศาสนา โหราศาสตร์ และมีความสำคัญต่อสังคม จากภาพถ่ายที่จัดแสดงจึงได้ปรากฏความเจริญของสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากการเมืองตลอดเวลา นิทรรศการเริ่มต้นด้วยรูปแบบโครงสร้างของหอคำที่ได้รับอิทธิพลศิลปะพม่าซึ่งได้แผ่ขยายไปทั่ว โดยจัดแสดงภาพหมู่พระมหามณเฑียรแห่งเมืองมัณฑเลย์ภาพถ่ายของหอคำในภาคเหนือของไทย อันประกอบไปด้วย หอคำเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน ข้ามแม่น้ำโขงไปยังลาวตอนบน จะพบหอคำหลวงพระบางและเมืองสิง จบลงด้วยภาพหอคำในเชียงตุง ยองห้วย และแสนหวีในรัฐแน ประเทศพม่า

สำนักงานกรุงเทพฯโทร. 02-252 7114 โทรสาร. 02-2541665อีเมล์ tourism@doitung.org
**เปิดทุกวันเวลา 08.00-18.00 น.(ยกเวันวันจันทร์) ค่าเข้าชมคนไทย 150 บาท ต่างชาติ 200 บาท

เที่ยวเชียงราย


วัดร่องขุ่น


ตั้งอยู่ที่บ้านร่องขุ่น ประมาณหลังกิโลเมตรที่ 817 บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 อันที่เป็นเส้นทางสายหลักสู่เชียงราย ทางเข้าวัดบริเวณทางแยกซ้ายเข้าไปประมาณ 200 เมตร เดิมทีวัดนี้มีอยู่แล้วแต่ก็ได้รับบูรณะใหม่โดยอาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ โดยได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่เป็นพระอุโบสถสีขาวคล้ายกับโบสถ์ขาวต้นแบบที่วัดมิ่งเมือง จ. น่าน ซึ่งออกแบบสร้างตามจินตนาการของท่านเจ้าอาวาส และผลงานลวดลายปูนปั้นโดย สล่าเสาร์แก้ว เลาดี ช่างพื้นบ้านเมืองน่าน สกุลช่างเชียงแสนโบราณ สำหรับพระอุโบสถวัดร่องขุ่นเป็นโบสถ์สีขาวทั้งหลังสร้างด้วยศิลปะตามจินตนาการของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ช่วยกันสร้างโดยลูกศิษย์ฝีมือดีของอาจารย์ ศิลปะมีความปราณีตสวยงาม บนลวดลายปูนปั้นถูกประดับประดาไปด้วยกระจกสีเงินแวววาว เมื่อโบสถ์ต้องแสงอาทิตย์จะมีประกายระยิบระยับงดงามมาก ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนผาผนังฝีมือของอาจารย์เฉลิมชัย โบสถ์ขาวหลังนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2541 ตัวโบสถ์เสร็จสมบูรณ์ เหลือแต่การตกแต่งภายนอก ภายในบริเวณวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ภาพเขียนของอาจารย์เฉลิมชัย ซึ่งมีห้องแสดงภาพและจำหน่ายภาพเพื่อนำมาเป็นทุนในการสร้างโบสถ์วัดร่อง

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

8 สูตรมาร์สหน้าผลไม้


เพราะเรารู้กันดีว่าของสดๆ จากธรรมชาติ ไม่ว่าจาก ผัก ผลไม้ หรือดอกไม้หลายๆ ชนิดมีสารบำรุงที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงผิว และเสี่ยงต่อการแพ้ได้น้อย เราจึงสามารถนำของสดๆ มาพอกบำรุงผิวหน้ากันโดยตรงกันได้เลย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่น และมอบสารอาหารให้ซึบซาบลงสู่ผิวชั้นนอก ขับให้ผิวสวย นุ่มเนียนทันทีหลังล้างออก แต่ก่อนลงมือคว้าของดีจากตู้เย็นมาปรุงสูตรมาสก์หน้า ขอแนะนำสักนิดว่า ก่อนอื่นควรดูสภาพผิวของเราเองก่อนอื่นใด ว่ามีสภาพผิวแบบไหน และมีประวัติแพ้อะไรมาบ้าง จากนั้นจึงเลือกผลไม้ที่เหมาะกับผิวเราจริงๆ อาทิเช่น คนที่ผิวแห้ง ก็ควรเลือกอาหารผิวที่ช่วยเติมน้ำให้ผิว ในขณะที่คนผิวมันควรเลือกอาหารผิวที่ให้ความตึงกระชับ และมีรสเปรี้ยวนิดๆ หรือคนมีสิว มีรอยแผลเป็น ก็ควรเลือกสารสกัดที่มีกรดธรรมชาติในการลดเลือนรอยสิวให้จางลงพร้อมการบำรุงที่ดีไปในตัว นอกจากนี้ การเลือกส่วนผสมในการมาสก์หน้าที่เข้ากันได้ก็สำคัญไม่น้อยเลย อย่าลืมเชียวว่า แม้การปรุงสูตรสวยสไตล์ธรรมชาติๆ อย่างนี้จะไม่มีข้อจำกัดมากมายนัก แต่ก็ควรเลือกชนิดที่เข้ากัน และมีปฏิกิริยาทางเคมีที่ส่งเสริมกันด้วย หรือถ้าให้ง่ายเข้า ก็ลองพกสูตรที่เรานำมาฝากไปปรุงสวยกันก่อน งานนี้คงมีสักสูตรที่โดนใจเป็นแน่ เพราะ 10 สูตรเหล่านี้ ไม่ลองไม่ได้เลย ง่ายๆ แค่บดแล้วนำมาผสมกัน ก็นำไปพอกบนหน้าสะอาดๆ ได้เลย
1. แตงกวาบด + โยเกิร์ต (หรือนม)
อยากมีผิวนุ่มๆ ต้องสูตรนี้เลย เน้นว่าเอาแตงกวาปอกเปลือกก่อนแล้วสับละเอียด ผสมโยเกิร์ตแบบที่
ไม่มีรสสักนิด ผิวจะได้ชุ่มชื่นทันที
2. มะขามเปียก + น้ำผึ้ง
สูตรนี้อาจเติมน้ำผึ้งมากหน่อย เพราะมะขามเปียกมีความเป็นกรดรรมชาติสูง สูตรนี้ช่วยให้ผิวขาวใสอย่างเป็นธรรมชาติได้เลย
3. แอปเปิ้ลบด + น้ำผึ้ง
กินแอปเปิลแล้วผิวสวย และยังดีต่อผิวด้วย เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย สูตรนี้ใช้ได้กับทุกผิว
4. กล้วยบด + โยเกิร์ต + น้ำผึ้ง
ใครผิวมันขอแนะนำ เพราะกล้วยบดดีจริงๆ กับการควบคุมความมัน ใช้แล้วผิวนุ่มจนสัมผัสได้
5. มะละกอ + ฟักทอง + น้ำผึ้ง
สูตรนี้ให้กลิ่นหอมสดชื่นมากๆ มะละกอและฟักทองบดยังช่วยเติมสารแอนติออกซิแดนท์ให้ผิวได้โดยตรง
6. มะเขือเทศ + มะนาว + น้ำผึ้ง
วิตามินเพียบ สูตรนี้กระชับผิวนี้ใช้ได้ทุกสภาพผิวจริงๆ แถมในมะเขือเทศยังมีไลโคปีน ที่ดีต่อการลดฝ้า
ได้ด้วย
7. ผงขมิ้น + ดินสอพอง + มะนาว
สูตรไทยแท้ๆ ที่นอกจากผิวจะเนียนสวยขึ้นด้วยขมิ้น ก็ยังเป็นส่วนผสมที่ลงตัวในการลดสิวได้ดีอีกด้วย
8. ว่านหางจระเข้ + โยเกิร์ต
ปรับผิวให้ขาวใส ชุ่มชื่น หอมนุ่มได้เลย เพราะว่านหางจระเข้นั้นดีกับผิวแห้ง ผิวมีสิว และผิวคล้ำแดดที่สุด

ขอขอบคุณ ข้อมูลจากผลิตภัณฑ์สบายอารมณ์ อ่านไอเดียแนวทางธรรมชาติได้ทุกวันที่